Be Myself
วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560
ชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในสังคม
วิชาจิตตปัญญา:
ศาสตร์ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในสังคม
ปีการศึกษา
2558 ภาคเรียนที่ 3 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มเปิดสอนรายวิชาจิตตปัญญาเป็นวิชาเลือกเสรี
เพื่อมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตพึงประสงค์ในสังคมไทยและสังคมโลก
และดำเนินการเปิดสอนรายวิชานี้อย่างต่อเนื่องในปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งในแต่ละภาคเรียนนั้นมีนักศึกษาสนใจลงทะเบียนเรียน
ภาคเรียนละ 100 คน
สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากกระบวนการนี้
ได้รวบรวมจากนักศึกษาจำนวน 200 คนที่เรียนรายวิชานี้ในภาคเรียนที่
3 ปีการศึกษา 2558 และภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 มีนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้มาจาก6
สำนักวิชา ดังนี้ สำนักวิชาการจัดการ
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ สำนักวิชาวิศวกรรมและทรัพยากร
ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้มีพื้นฐานแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตรและสำนักวิชา ภูมิลำเนา
ศาสนา เป็นต้น จากสภาพความแตกต่างที่มาอยู่ร่วมกันนี้ทำให้
นักศึกษาเหล่านี้ต้องเผชิญกับสภาวะความเครียดและปัญหาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ปัญหาการปรับตัว ไม่ว่าจะเพื่อนที่อยู่ห้อง/หอเดียวกัน เพื่อนร่วมสำนักวิชา
รวมถึงครอบครัว จึงการเก็บความคิด/ความรู้สึกไว้ภายใน การไม่ไว้วางใจผู้คนรอบข้าง
การแข่งขันสูง เป็นต้น
เมื่อนำกระบวนการจิตตปัญญาเข้ามาใช้ในห้องเรียน
โดยเน้นจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สุนทรียะสนทนา
เป็นเครื่องมือให้นักศึกษาได้มีโอกาสพูดและฟังซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง
กระบวนการนี้ให้นักศึกษาจับคู่กับเพื่อนและสลับกันเล่าเรื่องชีวิตวัยเด็กให้กันและกัน
และเพิ่มเป็น 4 คน
จากนั้นให้แต่ละคนได้เล่าความประทับใจจากการฟังเรื่องราวของเพื่อนและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวัยเด็กของเพื่อน
จากนั้นเปลี่ยนเป็นกลุ่มใหญ่เล่าเรื่องราวที่ตนเองอึดอัดขัดใจ
หรือขัดแย้งไม่เคยเล่าที่ไหนมาก่อน พบว่า นักศึกษาร้อยละ 80
จากจำนวนนักศึกษาที่ลงวิชานี้ทั้ง 2 ภาคเรียน 200 คน
ได้สะท้อนความประทับใจและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องราวของเพื่อนที่หลากหลาย
โดยเฉพาะประเด็น ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวเองเท่านั้น ยังมีคนอื่น ๆ
อีกมากมายที่ต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ นานาและแสนสาหัสมากว่าตนเอง
ทำให้มองว่าปัญหาของตนเองเล็กนิดเดียว เมื่อเทียบกับปัญหาที่เพื่อน ๆ ได้เผชิญมาก
นอกจากนี้สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ
มิตรภาพและพื้นที่ความปลอดภัยที่สามารถช่วยกันสร้างขึ้นมาได้ แต่สิ่งที่นักศึกษาแต่ละคนได้สะท้อนจากการเรียนรู้ชุมชนเล็ก
ๆ ของพวกเขาก็คือ “การปลดปล่อยพันธนาการของตนเอง”
ความรู้สึกโล่งใจ โปร่งสบายและคลายเครียด พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งใหม่ ๆ
ที่เข้ามาในชีวิตได้ต่อไป
ดังนั้นความพยายามแก้ปัญหาสังคมเชิงระบบจะไม่สามารถบรรลุความสำเร็จได้ หากปราศจากรากฐานที่สำคัญคือ
ชีวิตที่ผ่อนคลายและชุมชนแห่งการเรียนรู้
อันเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่มีต่อการทำงานกับสังคม
การแก้ปัญหาเชิงระบบภายใต้กระบวนทัศน์เก่า ส่งผลให้ชีวิตเกิดความตึงเครียด
ทำลายความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
สองส่วนนี้ย่อมขัดแย้งโดยตรงต่อแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้
คำสำคัญ (Keywords) จิตตปัญญาศึกษา
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ พื้นที่ความปลอดภัย
เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ
“การเรียนรู้เชิงรุก” ครั้งที่ 5 (The 5th Active Learning National Conference 2017)
เพียงแค่คลิก วิธีคิดเปลี่ยน
เพียงแค่คลิก
วิธีคิดเปลี่ยน:
การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม “สร้างสรรค์อย่างสรรสร้างเพื่อผู้สูงวัย”
การเรียนรู้เพื่อให้เกิดสำนึกต่อสาธารณะ
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือการเข้าใจผู้อื่น ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการบอกเล่า
การบรรยายในชั้นเรียน แต่การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการกระทำ
หรือการลงมือทำจะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง
ทั้งนี้โดยการมองเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นเป็นสำคัญ ดังนั้นในรายวิชามนุษยภาพ
ชีวิตและการพัฒนาตนเอง ได้จัดกิจกรรมเสริมรายวิชา “สร้างสรรค์อย่างสรรสร้างเพื่อผู้สูงวัย”
อันเน้นถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ตระหนักต่อคุณค่าของสาธารณะ
เกิดสำนึกสาธารณะเป็นสำคัญ จึงได้ร่วมมือกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
และชมรมผู้สูงอายุ อำเภอท่าศาลาและอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เพื่อลดช่องว่างระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน และอัตราเสี่ยงของความขัดแย้งระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน
อันนำไปสู่การปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมเสริมของรายวิชาในช่วงปีการศึกษา 2558
ดังนั้นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้นี้ได้กำหนดกิจกรรมขึ้นมา
โดยให้นักศึกษาได้ออกแบบรูปแบบกิจกรรมเองภายใต้แนวความคิด “การใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของผู้สูงวัย”
และลงมือทำกิจกรรมกับกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่การเตรียมการ
การติดต่อประสานงาน เป็นต้น แต่การลงมือปฏิบัตินั้นไม่ได้เป็นไปตามที่ออกแบบหรือกำหนดตามเป้าหมาย
เกิดปัญหาและอุปสรรคในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไม่มีไฟ ไม่มีเครื่องเสียง สภาพอากาศร้อน
ฝนตก ผู้สูงวัยไม่สนุก กิจกรรมน่าเบื่อ ฯลฯ
ในที่สุดแล้วทั้งนักศึกษาและผู้สูงวัยสามารถดำเนินกิจกรรมได้สำเร็จ แม้ว่าเบื้องต้นนักศึกษารู้ไม่อยากทำกิจกรรม
ไม่แน่ใจว่า ผู้สูงวัยจะคิดอย่างไร แต่เมื่อลงมือปฏิบัติจริงก็สามารถแก้ปัญหาต่าง
ๆ เฉพาะได้ รวมถึงผู้สูงวัยให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
นำไปสู่ความรู้สึกผูกพันเสมือนลูกหลานและญาติผู้ใหญ่
จนทำให้นักศึกษาคิดถึงญาติผู้ใหญ่ทางบ้าน และตระหนักถึงความกตัญญูกตเวที
ซึ่งจากกิจกรรมเสริมนี้เป็นการเรียนหนึ่งที่เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและการแก้ปัญหาเฉพาะของนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ได้จากการประเมินนักศึกษาหลังจากปฏิบัติกิจกรรมและสะท้อนคิดผ่านการเขียนเรื่องเล่าของตนเองผ่านกิจกรรมนี้
อันได้ข้อสรุปและข้อคิดว่า “เพียงแค่คลิกเท่านั้น วิธีคิดของตนเองก็เปลี่ยนไป
ใจตนก็เปิดกว้าง” ซึ่งเป็นบทเรียนหน้าหนึ่งของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์อย่างแท้จริง
คำสำคัญ
(Keywords) จิตอาสา คุณธรรมจริยธรรม การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์
เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอในงานประชุมวิชาการ
การเรียนรู้เชิงรุก “Active
Learning: Challenges and Innovations” 5 - 6 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราชวันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น ผ่านหน้าต่างโจ ฮารี
หน้าต่าง JOHARI กับ 4 พื้นที่ หรือหน้าต่าง 4 ช่อง
1 พื้นที่สาธารณะ (Open)
2 พื้นที่บอด (Blind)
3 พื้นที่ซ่อนเร้น (Hidden)
4 พื้นที่มืด (Unknown)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)